วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หอไอเฟล Paris









ข้อมูล

ที่ตั้ง ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
สถานะ เสร็จสมบูรณ์
เริ่มก่อสร้าง 31 มีนาคม พ.ศ. 2432
ก่อสร้าง พ.ศ. 2430 - พ.ศ. 2432
(2 ปี 2 เดือน 5 วัน)
การใช้งาน หอสังเกตการณ์ หอกระจายคลื่นวิทยุ
ความสูง
เสาอากาศ / ยอด 324 เมตร (1,063 ฟุต)
หลังคา 300.65 เมตร (986 ฟุต)
บริษัท
สถาปนิก สตีเฟน โซแวสตร์
วิศวกร โมริส โกชแล็งและเอมีล นูกูนิเยร์
นายจ้าง กุสตาฟ ไอเฟล
อ้างอิง: อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์

หอไอเฟล (ฝรั่งเศส: Tour Eiffel, ตูร์แอฟแฟล; อังกฤษ: Eiffel Tower) หอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนชองป์ เดอ มารส์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส หอไอเฟลเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย

หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้ออกแบบ "กุสตาฟ ไอเฟล" ในปี พ.ศ. 2549 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มี คนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลมีความสูง 324 เมตร (1,063 ฟุต) (รวมเสาอากาศสูง 24 เมตร (79 ฟุต)) ซึ่งก็สูงเท่ากับตึก 81 ชั้น


เมื่อหอไอเฟลสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแทนที่อนุสาวรีย์วอชิงตัน และได้ครองตำแหน่งนี้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ก็ได้เสียตำแหน่งให้แก่ตึกไครส์เลอร์ (319 เมตร หรือ 1,047 ฟุต) ที่เพิ่งสร้างเสร็จ ปัจจุบันฟอไอเฟลสูงเป็นอันดับที่ 5 ในประเทศฝรั่งเศสและสูงที่สุดในกรุงปารีส ซึ่งอันดับสองคือหอมงต์ปาร์นาสส์ (Tour Montparnasse - 210 เมตร หรือ 689 ฟุต) ซึ่งในไม่ช้าจะถูกแทนที่โดยหออาอิกซ์อา (Tour AXA - 225.11 เมตร หรือ 738.36 ฟุต)

เนื้อหา [ซ่อน]
1 โครงสร้าง
2 เหตุการณ์
3 อ้างอิง
4 แหล่งข้อมูลอื่น


โครงสร้าง

ภาพเมื่อแรกสร้างหอไอเฟลมีความสูง 300 เมตร (986 ฟุต) ซึ่งไม่รวม เสาอากาศ 24 เมตร (72 ฟุต) ด้านบนนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับตึกแล้วจะมีประมาณ 75 ชั้น ในขณะที่ก่อสร้างปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดบนโลก โดยถูกล้มตำแหน่งเมื่อเมืองนิวยอร์กได้สร้าง ตึกไครสเลอร์ สูง 319 เมตร (1047 ฟุต)

น้ำหนักเหล็กที่ใช้ก่อสร้างนั้นทั้งหมด 7,300 ตัน และถ้ารวมทั้งหมดก็เป็น 10,000 ตัน ส่วนจำนวนบันไดนั้นเปลี่ยนแปลงตลอด เมื่อแรกเริ่มนั้นมี 1710 ขั้น ในทศวรรษที่ 1980 มี 1920 ขั้น และในปัจจุบัน มี 1665 ขั้น

เทคโนโลยี

เทคโนโลยี (Technology)

ความหมายและประเภท
เทคโนโลยีเป็นการเชื่อมระหว่างความชำนาญ ความรู้ ประสบการณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต และการกระจายสินค้าหรือบริการ เทคโนโลยีรวมอยู่ในกิจกรรมทั้งหมดขององค์การหรือสำนักงานและอัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเกิดนวัตกรรมของสำนักงาน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมี 2 ชนิด คือ

1. Quantum Technological Change เป็นการเคลื่อนย้ายเทคโนโลยีแบบพื้นฐาน ซึ่งมีผลต่อนวัตกรรมของสินค้าและบริการใหม่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การพัฒนาของ Internet (มีวิวัฒนาการในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์) และการพัฒนาของวิศวกรรมพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า Biotechnology (ซึ่งมีวิวัฒนาการในเรื่องการรักษาความเจ็บป่วยด้วยตัวยาที่ค้นคว้าเชิงพันธุศาสตร์) แม้แต่การพัฒนาหลักการเบื้องหลังการจัดหาสินค้าจานด่วน(Fast Food) ของ McDonald ก็เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีประเภทนี้เช่นเดียวกัน
2. Incremental Technology Change เป็นการเปลี่ยนแปลงที่กลั่นกรองเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วและนำไปสู่การปรับปรุงทีละเล็กทีละน้อย ตัวอย่างเช่น บริษัท Intel มีการปรับปรุงไมโครโปรเซสเซอร์เป็นลำดับจากเริ่มต้น 4004 8088 8086 268 386 486 และ Pentium6 เป็นต้น
เทคโนโลยีมีหลายประเภท เช่น CAD (เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างกรองออกแบบทางด้านวิศวกรรม) CAM (ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อตรวจสอบกระบวนการผลิต เชื่อมกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ และมีข้อมูลย้อนกลับเพื่อใช้ในการควบคุม) GT (ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแบ่งชิ้นส่วนและแยกประเภทจากกลุ่ม ใช้ในการจัดเก็บและการผลิต) เป็นต้น แต่ที่สำคัญและจำเป็นที่สุดสำหรับสำนักงานในปัจจุบันและอนาคต คือ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีข้อมูล หรือสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT)

เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีข้อมูลหรือสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) กล่าวถึงกระบวนการปฏิบัติหรือระบบใด ๆ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับกระบวนการและการเคลื่อนย้ายข้อมูล ปัจจุบันทุกคนมีความคุ้นเคยกับองค์ประกอบสมัยใหม่ของ IT มาช่วยสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับกลยุทธ์ใหม่ การเข้าถึงลูกค้าและลดต้นทุน ส่วนคำว่าระบบข้อมูล (Information system หรือ IS) เป็นผลรวมของเทคโนโลยี มนุษย์ และองค์การ ดังสมการนี้




และการบริหารระบบข้อมูล (Management Information System หรือ MIS) จะช่วยให้เกิดการตัดสินใจเพื่อสนับสนุนผู้บริหารโดยผลิตรายงานที่ได้มาตรฐานและมียอดสรุปรวมตามพื้นฐานทั่วไป
นอกจากนี้ยังมีระบบที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอีกมากมายเช่น ESS ES DSS เป็นต้น IT มีความสัมพันธ์ต่อการบริหารอย่างมาก ทั้งนี้อาจกล่าวถึงความสำคัญและความสัมพันธ์ของธุรกิจและเทคโนโลยีได้

ประโยชน์ของเทคโนโลยี
ผู้บริหารสำนักงานควรรู้จัก IT ในมุมมองที่ท้ายนักบริหาร ว่าจะนำมาช่วยบริหาร การเปลี่ยนในสำนักงานได้อย่างไร ซึ่งในความจริง IT มีประโยชน์และสามารถนำมาช่วยสร้างสำนักงานได้หลากหลาย อาทิ
1 ใช้ในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน เช่น Robotics CAD CAM
2 เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพและคุณภาพ เช่น JIT Scheduling Program
3 พัฒนาสำนักงานอัตโนมัติ เช่น เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ
4 เครือข่ายคอมพิวเตอร์กว้างไกลขึ้น เช่น LAN WAN Internet Gropware
5 สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน

อุปสรรคของเทคโนโลยี
แม้ว่ามีประโยชน์มากก็ตาม แต่ IT ก็มีอุปสรรคและข้อจำกัดอยู่เช่นเดียวกัน ซึ่งอุปสรรคที่ทำให้การปฎิบัติงานของ IT ทำได้ยากลำบากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย
1 ปัญหาด้านเทคโนโลยี โดยขาดมาตรฐานความคงที่ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ธุรกิจซึ่งใช้ IT ที่แตกต่าง จะมีมาตรฐานที่แตกต่างกัน และความแตกต่างเหล่านี้จะทำให้เกิดความลำบากในการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกันในระบบเครือข่าย เช่น แฟ้มในคอมพิวเตอร์ไม่สามารถย้ายจากที่หนึ่งไปยังแห่งหนึ่งได้ เพราะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์คนละบริษัทที่มีมาตรฐานแตกต่างกัน เป็นต้น
2 การต่อต้านจากผู้ใช้ เหตุผลเบื้องต้นคือ เกิดความกลัวเทคโนโลยี (เรียกว่า Technophobia) ไม่ชอบใช้เทคโนโลยี และขาดการสนับสนุนจากพันักงานภายในสำนักงาน การต่อต้านจะลดลงได้ถ้าทำให้เกิดความเป็นมิตรและมีการชี้แจงหรือให้การศึกษา หรือฝึกอบรมการใช้คอมพิวเตอร์
3 การคัดค้านทางการเมือง เพราะอิทธิพลของ IT ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงในสำนักงาน ( ซึ่งกล่าวในส่วนถัดไป) อาจทำให้เสียประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนั้นคัดค้าน โดยใช้ยุทธวิธีต่าง ๆ เช่น หลีกเลี่ยงการนำทรัพยากรไปใช้ หันเหเป้าหมายโครงการ IT และเพิกเฉยหรือละเลยงานในส่วนนั้นอย่างเจตนา เป็นต้น

ข้อจำกัดของเทคโนโลยี
แม้จะมีวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีอยู่ตอลดเวลา แต่อาจพบเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดข้อจำกัดของเทคโนโลยี ดังนี้

1 ขาดความอิสระเพราะการพึ่งพาเทคโนโลยี เช่น ข้อมูลและสาระที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์อาจถูกโจรกรรมหรือเสียหายจากระบบไฟฟ้า หรือภัยธรรมชาติ หรือแม้กระทั่ง “Bug” ใน Software เป็นต้น
2 ขาดมนุษย์สัมพันธ์ในสำนักงาน รวมทั้งลูกค้าและแขกผู้มาเยือน (Visitors) เพราะ IT ทำให้ขาดการติดต่อสื่อสาร แบบพบหน้าหรือเผชิญหน้า (Face-to-Face)


ผลกระทบของเทคโนโลยี
การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเกิดขึ้นตลอดเวลาเป็นที่รู้จักและพบเห็นเป็นเรื่องปกติทั่วไป ทั้งในชีวิตการทำงานและในชีวิตส่วนตัว ธุรกิจหลายชนิดพัฒนาและนำเสนอเทคโนโลยีใหม่เชิงนวัตกรรม ประสบความสำเร็จและมีการเติบโตสูงมากในปัจจุบันเช่น Microsoft , Inter, Motorola, Matsushita, Wal-Mart,Sony เป็นต้น ขณะที่ธุรกิจบางแห่งได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง เช่น โทรศัพท์แบบดั้งเดิมต้องเผชิญกับคู่แข่งขันที่เสนอเทคโนโลยีเคลื่อนที่ เป็นต้นจึงเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เป็นทั้งโอกาสและอุปสรรค เปรียบเสมือนเหรียญ 2 ด้าน ขณะที่ด้านหนึ่งช่วยสร้างโอกาสให้สินค้าและบริการใหม่ ๆ แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นอุปสรรคที่สามรถทำร้ายหรือทำลายความต้องการสินค้าหรือบริการแบบเดิม นอกจากนี้เทคโนโลยียังอาจมีผลกระทบต่อพฤติกรรมในองค์การหรือสำนักงานในเชิงลบโดยเกิดความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย เพราะเกรงว่าจะมีการนำคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีอื่นใดมาแทนคนจะเห็นได้จากมีการลดขนาดองค์การ (Downsizing) และปลดออก (Layoff) รวมทั้งการรีเอ็นจิเนียริ่งในสำนักงาน

เทคโนโลยียังมีผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในสำนักงาน เช่น โครงสร้าง (ซึ่งต้องเปลี่ยนแปลงเป็นแนวราบหรือ Flatter มากขึ้น เพื่อให้พนักงานใช้ข้อมูลและมีอำนาจแก้ไขปัญหาได้สะดวกยิ่งขึ้น) และวิธีการตอบสนองต่อลูกค้า(จากการเก็บสินค้าในคลังสินค้ามากเกินไป ก็จะมีการใช้ระบบอัตโนมัติคำนวณปริมาณที่เหมาะสมหรือมีการออกแบบสินค้าใหม่ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สำนักงานหรือแม้กระทั้งการจัดระบบใหม่) เป็นต้น

การจัดการกับเทคโนโลยี
ผู้บริหารสำนักงานอาจมีวิธีจัดการหรือบริหารเทคโนโลยีสำนักงานได้หลายรูปแบบ ตามแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเพื่อแก้ไขอุปสรรคและข้อจำกัดบางประการ มีข้อเสนอแนะนำในการจัดการกับเทคโนโลยีในสำนักงาน ดังนี้
1 คำนึงถึงเป้าหมายหลักขององค์การและวิเคราะห์ผลในการนำเทคโนโลยีมาใช้
2 ตรวจสอบเทคโนโลยีที่ใช้อยู่
3 สร้างระบบสนับสนุนในการปฎิบัติงสานกับเทคโนโลยี
4 เน้นความเข้าใจที่ถูกต้องกับเทคโนโลยีให้พนักงานได้ทราบ

ระบบข้อมูลหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นเครื่องมือที่สร้างพลังอำนาจนำหรับการเปลี่ยนแปลงสำนักงานในอนาคตเพราะช่วยให้มีความสามารถในการออกแบบโครงสร้าง ขอบเขต ความสัมพันธ์ของอำนาจสายทางเดินของงาน สินค้า และ บริการใหม่ ๆ ซึ่งได้เปรียบเชิงแข่งขันและทำให้สำนักงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ทิศทางเทคโนโลยีที่ช่วยในการปรับตัวเองสำนักงาน มีตั้งแต่ Global Network Dnterprise Network การคำนวณที่หลากหลาย การฟิกสำหรับผู้ใช้และการเชื่อมต่อเข้าไปถึงระดับการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้บรรลุผลอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ทิศทางของสำนักงานแห่งอนาคตที่มีประสิทธิผลสูงสุด ทั้งนี้ขึ้นกับวัตถุประสงค์และสถานการณ์ของแต่ละสำนักงาน เพราะในขณะที่มีระดับการใช้เทคโนโลยีนำมาเปลี่ยนแปลงมากแม้จะมีผลตอบแทนสูง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกัน ผู้บริการสำนักงานจึงควรพิจารณาไตร่ตรองและคำนึงถึงประเด็นสำคัญนี้เพื่อสำนักงานที่ดีในอนาคต

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การประยุกต์ใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติของบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

การประยุกต์ใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติของบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

ในส่วนงาน IT ของบริษัทฯ แห่งนี้ ได้มีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาใช้หลายอย่างด้วยกัน เริ่มตั้งแต่

* ระบบ รักษาความปลอดภัย ที่ใช้ คีย์การ์ด เพื่อป้องกันบุคคลภายนอก หรือผู้อื่นที่เข้ามาโจรกรรมต่าง ๆ เข้ามาถึงภายในได้ ถ้าจะเข้าก็ต้องติดต่อกับทางบริษัทฯ เพื่อให้ได้รับอนุญาตในการให้เข้าก่อน และยังมีการรักษาความปลอดภัยให้กับห้อง Server ที่เป็นหัวใจสำคัญของบริษัทฯ เป็นอย่างมาก มีการป้องกันการเข้าถึงห้อง Server ด้วยการใช้ การ์ดในการผ่านประตูถึง 2 ชั้น ก่อนจะถึงห้อง Server

* ระบบการติดต่อสื่อสารได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อความ E – mail , การใช้เครื่องโทรสาร, การใช้โทรศัพท์

* ระบบจัดการเอกสาร ได้มีการใช้เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องคอมพิวเตอร์ในการเก็บเอกสารแทนการใช้กระดาษเพื่อลดปริมาณเอกสาร

* ระบบสารสนเทศ ได้นำคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมโยงระบบภายในองค์กร โดยการใช้ระบบเครื่องข่ายวงแลน (Lan) ตลอดจนระบบอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต (Intranet) และเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารไปยังองค์กรต่าง ๆ ภายนอก