วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การนำเอาเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาล

ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์
เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้

  • ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
  • การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้า ด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
  • สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
  • เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
  • ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย
ด้านการบริหารงานการแพทย์ในโรงพยาบาล
เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการ (Management Information System) มาประยุกต์เข้ากับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและมาตรฐานของระบบรับรองคุณภาพโรงพยาบาลแบบต่างๆ ตามที่โรงพยาบาลนั้นต้องการ เรียกว่า ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System, HIS) ซึ่งนำมาใช้ช่วยในการบริหารจัดการงานทั่วไปของโรงพยาบาล เช่น งานเวชระเบียนผู้ป่วย งานบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น

ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System, HIS)
ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาลอย่างมีหลักเกณฑ์ ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและมาตรฐานของระบบรับรองคุณภาพต่างๆ เพื่อนำมาประกอบผล และจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่างๆของผู้บริหาร เพื่อให้การดำเนินงานของโรงพยาบาล เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทำให้บุคลากร ปฏิบัติงานได้สะดวกและรวดเร็ว ทำให้มีเวลาในการให้บริการแก่ผู้ป่วยมากขึ้น มีเวลามาพัฒนาคุณภาพบริการให้ดีขึ้น
โดยส่วนใหญ่แล้ว ระบบระบบสารสนเทศโรงพยาบาลจะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น จากโปรแกรมระบบฐานข้อมูล ประสบการณ์และความรู้ของผู้บริหารและผู้ดำเนินการ โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงพยาบาลเข้าด้วยกัน เช่น ข้อมูลผู้ป่วย ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล โดยการทำงานของระบบจะเป็นการทำงานแบบ Interactive คือ จัดการข้อมูลที่เกิดขึ้นจากแต่ละหน่วยงาน เช่น แผนกผู้ป่วยนอก ห้องผ่าตัด ฯลฯ และสามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทันทีจากแต่ละหน่วยงานมาใช้ประมวลผลได้ทันทีทันใด ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการบริการ และการบริหารจัดการในโรงพยาบาลเพิ่มมาก ขึ้น

ระบบย่อยของระบบสารสนเทศโรงพยาบาล แบ่งเป็น 3 กลุ่มงานใหญ่ๆ
1. สารสนเทศทางการพยาบาล - เป็นระบบที่เชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยแต่ละราย จากแต่ละแผนก ที่ผู้ป่วยเข้าไปเกี่ยวข้องหรือต้องใช้บริการ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกต่อทั้งผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ให้ปฏิบัติงานได้ สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ประกอบด้วย ระบบงานเวชระเบียนและสถิติ ระบบงานผู้ป่วยนอก ระบบงานผู้ป่วยใน ระบบงานเภสัชกรรม ระบบงานพยาธิวิทยา/ ระบบงานชันสูตร ระบบรังสีวิทยา ระบบงานห้องผ่าตัดและวิสัญญี ระบบงานประกันภัยสุขภาพและประกันสังคม ระบบงานหน่วยจ่ายกลาง ระบบงานธนาคารโลหิต ระบบงานการเงินผู้ป่วย ระบบงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล และระบบงานหน่วยขนย้ายผู้ป่วย
ปัจจุบันมีหลายโรงพยาบาลไ ด้พัฒนาระบบสารสนเทศนี้ขึ้นมาใช้ในโรงพยาบาลของ ตนเองและก็ มีหลายหน่วยงานที่พัฒนาระบบสารสนเทศนี้ เพื่อเป็นต้นแบบให้แต่ละโรงพยาบาลนำ ไปประยุกต์ใช้เช่นกัน ตัวอย่างของระบบสารสนเทศทางการพยาบาลที่น่าสนใจและมีความโดดเด่น คือ โปรแกรม HOSxP ซึ่งพัฒนา โดยบุคลากรที่อาสาสมัครมาจากหลายๆ โรงพยาบาล มีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศ ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำไปใช้งานได้จริงทั้งในระดับสถานีอนามัย ไปจนถึงโรงพยาบาลศูนย์ เริ่มพัฒนาเมื่อปี พ.ศ. 2542 เป็นโปรแกรมประเภท open source ซึ่งสามารถนำไปดัดแปลงแก้ไขให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานได้ โดย ไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างไร

2. สารสนเทศด้านการบริหารและวิชาการ - สารสนเทศด้านนี้มักพบว่าเป็นส่วนหนึ่งของสารสนเทศทางการพยาบาล มากกว่าจะแยกส่วนเป็นของตนเอง อย่างไรก็ตาม สารสนเทศนี้มีความสำคัญในด้านการสรุปข้อมูลแต่ละด้านของโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้บริหารสามารถนำสารสนเทศ ที่ได้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการวางแผน กลยุทธ์ แผนดำเนินการและนโยบายต่างๆ ประกอบด้วย ระบบงานธุรการ ระบบงานพัสดุ ครุภัณฑ์ ระบบงานบัญชี และการเงิน ระบบงานประชาสัมพันธ์ ระบบงานพัฒนาคุณภาพบริการระบบงานข้อมูลข่าวสารและวิชาการ ระบบงานศึกษา (แพทย์และพยาบาล) และระบบงานสำหรับผู้บริหารโรงพยาบาล

3. สารสนเทศด้านงานวิศวกรรมการแพทย์ - สารสนเทศด้านนี้มักถูกละเลยจากในหลายโรงพยาบาล และในหลายหน่วยงานทางการ แพทย์ สาเหตุเพราะงานวิศวกรรมการแพทย์ในประเทศไทยยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ไม่มีองค์กรกลางที่ได้รับความเชื่อถือมาดูแลอย่างเป็นระบบ แม้จะมีหลายโรงพยาบาลพยายามพัฒนาสารสนเทศ ด้านวิศวกรรมการแพทย์ขึ้นใช้งาน แต่ก็เป็นเพียงสารสนเทศด้านการซ่อมบำรุง งานบำรุงรักษาและงานสอบเทียบเครื่องมือแพทย์เท่านั้น และสารสนเทศนี้ก็ไม่ได้รับความสนใจจากคณะผู้บริหารเท่าที่ควร จึงทำให้สารสนเทศทางด้านนี้ยังขาดความสมบูรณ์อยู่พอสมควร
สารสนเทศด้านงานวิศวกรรมการแพทย์ ประกอบด้วย ระบบงานด้านบริหารจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์ ทางการแพทย์ ระบบงานซ่อมบำรุง ระบบงานบำรุงรักษา ระบบงานสอบเทียบ ระบบงานการคัดกรองเทคโนโลยี ทางการแพทย์ ระบบงานการประเมินอายุการใช้งาน และการยกเลิกการใช้งานเครื่องมือแพทย์
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากสารสนเทศทั้งสามส่วนนี้ จะมีความเกี่ยวข้อง หรือมีความจำเป็นสำหรับจัดทำสารสนเทศเพื่อสรุปข้อมูลทั้ง หมดเกี่ยวกับโรงพยาบาล เช่น จำนวนผู้ป่วยที่มาใช้บริการในแต่ละเดือน สรุปยอดรายรับ รายจ่างทั้งหมด จำนวนเครื่องมือแพทย์ที่มีใช้และที่ต้องการเพิ่ม เป็นต้น เพื่อให้ผู้บริหารได้รับทราบ สำหรับการวางแผนการพัฒนาวางแผนกลยุทธ์ วางแผนดำเนินการ และวางนโยบายในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานหรือองค์กรต่อไป ในอนาคต


โรงพยาบาลยันฮี
เมื่อมาถึงโรงพยาบาล อย่างแรกคือ ต้องไปติดต่อที่ เค้าเตอร์ เพื่อทำประวัติ ในการการทำประวัติก็ได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้เพื่อเก็บประวัติต่าง ๆ ไม่ของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการรักษาหรือการมาติดต่อกับโรงพยาบาล

ในการรักษาก็จะมีการเก็บข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยไว้ในระบบ ไม่ว่าหน่วยงานใดในโรงพยาบาลก็สามารถเรียกข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ป่วยออกมาดูได้ โดยที่ไม่ต้องรอเอกสาร และในการ x-ray ต่าง ๆ ก็สามารถส่งข้อมูลที่ x-ray แลัวไปยังห้องของแพทย์ได้เลย โดยส่งผ่านไปในระบบสารสนเทศทำให้ไม่ต้องรอฟิล์ม x-ray ให้ยุ่งยาก ในการดูห้องพักว่ามีผู้ป่วยคนใดพักอยู่ หรือห้องพักห้องใดว่างก็สามารถ ตรวจสอบได้จากในระบบคอมพิวเตอร์ได้เลย ทำให้ทำงานได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว และโรงพยาบาลยังมีเว็ปไซด์เพื่อโปรโมทโรงพยาบาลอีกด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น